วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

กีฬาสีโรงเรียนทุ่งสง

กีฬาสีโรงเรียนทุ่งสง พ.ศ.2554



มีสีต่างๆดังนี้
    1.สีแดง(จักรพล)
        2.สีแสด(สอนศิลป์)
       3.สีเหลือง(แสงสูร)
  4.สีเขียว(มรกต)
5.สีฟ้า(นำชัย)

รางวัลของแต่ละสีมีดังนี้

รางวัลกีฬาสียอดเยี่ยม                           สีที่ได้รับ คือ สีแสด
รางวัลคะแนนรวมสูงสุด                        สีที่ได้รับ คือ สีฟ้า
รางวัลขบวนพาเหรดยอดเยี่ยม              สีที่ได้รับ คือ สีแสด
รางวัลนักกีฬาชายอายุ 13ปี่ ชนะเลิศ    สีที่ได้รับ คือ สีเขียว
รางวัลกองเชียร์เงียบกริบ                      สีที่ได้รับ คือ สีเหลือง
รางวัลกองเชียร์ดุเดือด                         สีที่ได้รับ คือ สีแดง   

ในเวลาเที่ยง และ เย็นก่อนกลับบ้านมีการดิ้นกันจนบางคนจะขาดใจเลย แต่กีฬาสีจบลงได้ด้วยดี สิ่งดีๆเกิดขึ้นทั้งนั้น
ขบวนพาเหรดที่ร้อนแรง
ขบวนนำโรงเรียนทุ่งสง
แดนซ์สนั่นสะเทือนเลื่อนลั่นสนั่นแผ่นดิน

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

จริยธรรมและพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์

จริยธรรม (Ethics)

      “จริยธรรม” = จริย + ธรรมะ คือ ความประพฤติที่เป็นธรรมชาติ เกิดจากคุณธรรมในตัวเอง 
ก่อให้เกิดความ สงบเรียบร้อยในสังคม รวมสรุปว่าคือ ข้อควรประพฤติปฏิบัติ
จริยธรรม(Ethics) ความเป็นผู้มีจิตใจสะอาด บริสุทธิ์ เสียสละหรือประพฤติดีงาม
1. ประมวล กฎหมาย ที่กลุ่มชนหรือสังคมหนึ่งๆ ยอมรับเป็นแนวควบคุมความประพฤติ เพื่อแยกแยะให้เห็นว่าอะไรควรหรือไปกันได้กับการบรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่ม
2. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วย ความประพฤติ และการครองชีวิต ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด หรืออะไรควร อะไรไม่ควร
3. กฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์เอง ได้แก่ ความเป็นผู้มีปัญญา และเหตุผลหรือปรีชาญาณทำให้มนุษย์มีมโนธรรมและ รู้จักไตร่ตรองแยกแยะความดี - ความชั่ว, ถูก - ผิด, ควร - ไม่ควร เป็นการควบคุมตัวเอง และเป็นการควบคุม กันเองในกลุ่ม หรือเป็นศีลธรรมเฉพาะกลุ่ม
ศีลธรรม (Moral)


จริยธรรมในการใช้ Internet

จริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต

๑. ความมีเหตุผล รู้จักไตร่ตรอง ไม่หลงงมงาย มีความยับยั้งชั่งใจ ไม่ใช้อารมณ์ - ไม่เชื่อใครง่าย ๆ เช่น เชื่อเพื่อนทางอินเตอร์เน็ต ให้ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น

๒. ความซื่อสัตย์สุจริต ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกงและไม่หลอกลวง การรักษาคำพูดหรือคำมั่นสัญญา - ไม่พูดปด หรือเขียนข้อความที่เป็นเท็จทางอินเตอร์เน็ต - ไม่ให้ร้ายผู้อื่น ทางอินเตอร์เน็ต

๓. ความเสียสละ การให้ปันแก่ผู้ที่ควรได้รับ ด้วยกำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังสติปัญญา มีจิตใจกว้างขวาง ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน - แสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมาด้วยความสุภาพในอินเตอร์เน็ต - ช่วยเพิ่มพูนความรู้ใหม่ลงในอินเตอร์เน็ต

๔. ความสามัคคี ความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน การร่วมมือกันทำกิจการให้สำเร็จลุล่วงด้วยดีความพร้อมเพรียง หรือความปรองดองกัน - รักหมู่คณะ มีใจหวังดี ไม่เขียนข้อความยุยงส่งเสริมให้เกิดความแตกแยก

๕. ความรับผิดชอบ ความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย อีกทั้งพยายามที่จะปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น - รู้หน้าที่ และกระทำหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี - เอาใจในการทำงานที่ตนรับผิดชอบ

๖. ความกตัญญูกตเวที การรู้บุญคุณและตอบแทนคุณต่อคนอื่นและสิ่งอื่นที่มีบุญคุณ - รู้จักกล่าวขอบคุณ หรือเขียนอวยพรให้แก่ผู้อื่นในอินเตอร์เน็ต

๗. ความอดทนอดกลั้น คือ การรู้จักข่มใจในเวลาที่เผชิญกับเหตุการณ์ที่เย้ายวนทุกรูปแบบ อันจะทำให้ไม่เกิดความเสียหายหรือถลำลึกลงไปในความชั่วร้าย หรือความทุจริตทั้งปวง - ไม่เข้าไปในเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม - ไม่ทะเลาะกับผู้อื่นในอินเตอร์เน็ต

๘. ความถ่อมตัว การวางตนอย่างเหมาะสม ไม่แสดงตนเหนือผู้อื่น - ไม่เขียนคุยโวโอ้อวดตนเองในอินเตอร์เน็ต

พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
 
พ.ศ. ๒๕๕๐
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐
เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550 ทุกคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ต้องรู้
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป